Title : การใช้รถประจำทางในเกียวโต
Rate this article :
 
เมื่อพูดถึงเรื่องระบบขนส่งมวลชนแล้ว หากเป็นเมืองใหญ่เช่นโตเกียว หรือ โอซาก้านักท่องเที่ยวอาจจะไม่ค่อยประสบปัญหาหนักใจในการเดินทางท่องเที่ยวเท่าไหร่ เพราะว่าการเดินทางส่วนใหญ่สามารถนั่งรถไฟไปไปได้ทุกที่
แต่สำหรับที่เกียวโตแล้ว การสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ๆนั้นมีข้อจำกัด เพราะมีสถานที่สำคัญที่ต้องอนุรักษ์ไว้  นอกจากนี้ยังมีวัดหลายแห่งที่ห่างไกลจากสถานีรถไฟสายหลัก จึงทำให้ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเดินไปเท่าที่ควร ทั้งๆที่เป็นสถานที่สวยงามและมีคุณค่าสำหรับการท่องเที่ยว
ในบทความนี้ มาดูเจแปน จะขอแนะนำทิปเล็กๆน้อยๆในการใช้รถประจำทางในเกียวโต ไปเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ ทุกหนทุกแห่งในเมืองค่ะ  
 
สำหรับรถประจำทางในเกียวโตนั้นจะมี 3 ประเภทค่ะ 
 
รถประจำทางที่ให้บริการโดยเทศบาลเมืองเกียวโต เรียกว่า  Kyoto Shi-ei Bus

kyoto shiei bus 


shinoki77

 
รถประจำทางเส้นนี้ เป็นเจ้าเดียวกันกับที่ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินของเกียวโจด้วย จะมีสัญลักษณ์โดยการใช้สีเขียวค่ะ หากเป็นการเดินทางในเมือง ก็สามารถใช้รถประจำทางสายนี้ได้ค่ะ 
 
  
รถบัสสายเคฮัน (Keihan Bus)

Keihan Bus 
hans-johnson

 
ฝั่งตะวันออกของเมืองเกียวโตนั้นจะอยู่ใกล้กับจังหวัดชิกะ (Shiga-ken) ส่วนฝั่งทิศใต้ของเมืองนั้นจะติดกับจังหวัดนาระ (Nara-ken) ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกจะมีสถานที่สำคัญเช่น
ยะมะชินะ (Yamashina) ไดโกะ (Daigo) หรือทางทิศใต้ก็จะมี อุจิ  (Uji) ฟุชิมิ (Fushimi) ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่มีศาลเจ้าและวัดอยู่มากมายค่ะ ซึ่งแน่นอนว่านักท่องเที่ยวต้องใช้บริการ หากเป็นการตระเวณเที่ยวด้วยตัวเอง
 
 
เกียวโตบัส (Kyoto Bus)


 
เกียวโตบัส เป็นสายรถที่วิ่งอยู่ระหว่าทางฝั่งเหนือของตัวเมืองเกียวโตค่ะ 
รถบัสสายนี้จะสิ่งผ่าน อะระชิยะมะ (Arashiyama) โอฮะระ (Ohara) กิฟุเนะ (Kifune) ซึ่งเป็นพื้นที่ในช่องเขาเป็นต้น  หากนักท่องเที่ยวต้องการไปเที่ยววัดหรือศาลที่อยู่ในพื้นที่ฝั่งนี้ อาจจะต้องใช้บริการค่ะ 
การขึ้น และ การใช้บริการ 

 
 

วิธีการใช้รถประจำทางในเกียวโต 
 
สำหรับระบบของรถบัสสาย  Kyoto-shiei , Keihan bus, Kyoto bus จะใช้ระบบเหมือนกันทั้งหมดค่ะ ซึ่งก็เหมือนกับรถบัสญี่ปุ่น
หรือรถประจำทางของญี่ปุ่นที่การขึ้นลงจะต้องทำอย่างมีระบบ คือขึ้นรถประตูหลังรถ และลงรถประตูหน้า
 
สำหรับการขึ้นรถเมล์ที่ขึ้นมาจากด้านหลังนั้น จะมีเครื่องที่ใช้ตรวจตั๋ว ซึ่งผู้โดยสายจะต้องมีตั๋วที่เรียกว่า Seiri-ken ผู้โดยสารทุกคนต้องเตรียมให้พร้อมก่อนที่จะขึ้นนะคะ   
สำหรับราคาค่าตัวตั๋วจะถูกกำหนดโดยหมายเลขใน  Seiri-ken ซึ่งตารางราคาของป้ายที่เราจะลงนั้น จะแสดงกำกับบริเวณที่นั่งคนขับค่ะ 
 
เมื่อถึงตอนลง ผู้โดยสามารถกดปุ่มภายในตัวรถได้ค่ะ ซึ่งเหมือนเป็นการแจ้งให้คนขับทราบนั้นเองค่ะ 
เมื่อรถจอดที่ป้ายเรียบร้อยแล้ว ให้นำ  Seiri-ken สอดเข้าไปในกล่องสอดข้างๆคนขับค่ะ 
หากเป็นบัตรเที่ยยวหนึ่งวัน หรือ ตั๋ว IC สามารถเอาไปแตะที่เครื่องได้เลยค่ะ 
 
อ้อ แต่รถบางสาย หรืออย่างสายที่วิ่งภายในเขตเมืองจะเป็นราคาเหมาจ่ายนะคะ (แบบรถสองแถวบ้านเรา) (สำหรับรถสาย Kyoto-shiei)จะคิดเรทราคาผู้ใหญ่ที่ 230 เยน และเรทราคาของเด็กอยู่ที่ 120 เยนค่ะ  

 
 
ส่วนการจ่ายค่าโดยสารนั้น ผู้โดยสารจะต้องเตรียมเศษเงินไว้นะคะ หากไม่มีจริงๆก็สามารถใช้แบงค์แลกได้ที่เครื่องข้างๆคนขับ แต่แบงค์ก็จะสามารถใช้ได้แค่แบงค์ 1000 เยน เท่านั้นนะคะ แบงค์ที่มูลค่ามากกว่านั้น เช่น 5000 เยน หรือ 10000 เยน ไม่สามารถสอดเข้าไปเพื่อแลกได้ค่ะ 
 
ตารางค่าโดยสารภายในรถค่ะ 
ด้านบนคือหมายเลขของตั๋ว  Seiri-ken
ด้านล่างคือค่าโดยสาร 





 
 
ป้ายรถ 
บริเวณป้ายรอรถจะมีจอแสดงสถานะของรถที่กำลังรอ 
มีจอมอนิเตอร์ด้วยค่ะ 
 
 



 
บริเวณพื้นที่สำคัญอย่างหน้าสถานีรถไฟเกียวโต มีรถบัสหลายสายวิ่งผ่านค่ะ ไม่ว่าจะเป็นสายไหนเราก็สามารถสถานะของรถและข้อมูลได้ที่หน้าจอเลยค่ะ 





รุปแบบของตั๋วโดยสาร 

 
หรือหากใครต้องการจะนั่งแบบไม่อั้น ที่นั่งได้สายๆต่างๆหลายสายเช่น  Kyotoshi-ei bus, Keihan bus, Kyoto bus รวมทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินด้วยก็สามารถซื้อตั๋วแบบเหมาได้นะคะ
ราคาสำหรับตั๋วรายวันก็จะอยู่ที่ 900 เยนค่ะ หากซื้อแบบ 2 วันก็จะเหลือ 1700 เยนค่ะ 
 
สำหรับรถบัสที่ให้บริการทั้ง 3 สามสาย (สามบริษัทนั้น) นักท่องเที่ยวสามารถโดยสารไปยังสถานที่ท่องเที่ยวเช่นวัดดังๆ หรือ ศาลเจ้าดังได้ครอบคลุมเลยค่ะ หากผู้โดยสารซื้อตั๋วแบบเหมาต่อวัน หรือ สองวัน เมื่อเริ่มใช้ครั้งแรก เครื่องก็บันทึกไว้เป็นวันที่ของวันแรกที่ใช้ค่ะ หากใช้บริการในระยะเวลาที่กำหนด ก็แค่โชว์ตั๋วเท่านั้น ง่ายๆมากเลย
ซึ่งประเภทตั๋วที่กล่าวถึงนี้ นักท่องเที่ยวสามารถซื้อได้สถานีรถไฟเกียวโต หรือสถานีรถบัสใหญ่ได้เลยค่ะ 
https://www2.city.kyoto.lg.jp/kotsu/webguide/en/ticket/regular_1day_card_comm.html
 
หากนักท่องเที่ยวคนไหน มีแผนเที่ยวมากกว่า 4 ย่านขึ้นไปในหนึ่งวัน ขอบอกว่ามันคุ้มมากๆนะคะ 
 
ข้อควรทราบ
หากแสดงตั๋วประเภทเหมาจ่ายหนึ่งวัน ให้เจ้าหน้าที่ประจำสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในเกียวโตดู จะได้รับส่วนลดพิเศษของบัตรผ่านประตูด้วยค่ะ 
 สำหรับช่วงดอกซากุระบาน หรือ ช่วงใบไม้เปลี่ยนสี อาจจะมีนักท่องเที่ยวมากมายมาเยือนที่เกียวโตจากทั่วทุกมุมโลกค่ะ และเป็นสาเหตุที่ทำให้รถติดบ้างนะคะ หากเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว
แนะนำว่าใช้รถไฟฟ้าใต้ดินจะเร็วกว่านะคะ เดินไม่กี่นาทีก็ถึงแถมได้ชมทิวทัศน์สวยๆด้วยค่ะ 
 ก่อนเดินทางดาวน์โหลดแผนที่เตรียมไว้ดีกว่า (ฉบับภาษาอังกฤษ) 
 
http://oneday-pass.kyoto/wp/wp-content/themes/Kyoto%20Municipal%20Transportation%20Bureau/assets/pdf/en/map_routemap.pdf
 
การโหลดแผนที่เอาไว้ก่อนไปเที่ยวคือ เผื่อเหตุการณ์ที่ไม่สามารถใช้อินเตอร์เนทได้จริงๆ เราก็ยังสามารถเดินทางท่องเที่ยวต่อได้นั่นเอง
หรือจะหาป้ายรถเมล์หรือสถานีที่ใกล้ที่สุด ก็สะดวกสบายมากๆเลยนะคะ 
 
ตัวอย่างการเดินทาง 
 
จากสถานีรถไฟโตเกียว ไป วัดน้ำใส (Kiyomizu-Dera) 



 
หากสมมติเราตั้งต้นที่สถานีรถไฟเกียวโต เ เราต้องลงที่ป้ายรถที่มื่อว่า  KIYOIZU-MICHI ซึ่งต่อมาเราก็มาดูว่ามีรถเมล์สายไหนผ่านบ้าง
ที่เจอเลยก็จะมีสาย Kyoto-shiei ที่มีอยู่ประมาณ 7 สายค่ะ เช่นหากเดินทางจากหน้าสถานีเกียวโตจะไปที่วัดน้ำใส ก็สามารถนั่งสาย  86, 88, 100, 106, 110, 206, 207 ค่ะ 

 
หลังจากที่เที่ยววัดน้ำใส (Kiyomizu-Dera) เสร็จสิ้นแล้ว  นักท่องที่ยวสามารถไปต่อที่ย่าน Ninen-saka Sannei saka โดยการเดินทางไปลงยังป้าย Gion ค่ะ 
ต่อจากนั้นหากจะไปที่  Nijo ก็สามารถนั่งรถบัสสาย 12 ไปได้ค่ะ โดยไปลงที่ป้าย  Nijojo-Mae ค่ะ  
การเดินทางจากปราสาท  Nijo มุ่งหน้าต่อไปยังปราสาทเกียวโต แต่ว่าไม่มีรถบัสสายที่วิ่งจาก  Nijojo-Mae ไปยังป้าย Kawaramachi-Imadegawa ที่อยู่ใกล้กับปราสาทเกียวโตโดยตรง
ในกรณีนี้ ให้นั่งสาย 9,10,101 จากป้าย Nijojo-Mae ให้นั่งรถสาย 9,10,101 มาลงที่ป้าย  Horikawa-Kawaramachiจากนั้นให้เปลี่ยนสายรถมานั่ง 59,102,201,203 แล้วมาลงที่ป้าย Kawaramachi-Kawaramachi ได้เลยค่ะ 

 
นอกจากวัดในเขตเมืองแล้ว วัดตามพื้นที่รอบนอก หรือว่าตามภูเขาก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวนิยมไปกันค่อนข้างมากสำหรับการเดินทางไปยังพื้นที่นอกเมืองนั้น จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงค่ะ
ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ต้องเปลี่ยนสายรถด้วย ขึ้นจากหน้าสถานีรถไฟเกียวโต หรือว่า Shijo-Omiya ก็สามารถนั่งยาวไปได้เลยค่ะ 

.

 
อันดับแรกตั้งต้นโดยการดูแผนที่ แล้วมองหาป้าย  Ohara ก่อนเลยค่ะ และจากนั้นก็มาเช็คดูว่ามีรถสายไหนที่วิ่งผ่านป้ายนั้นบ้าง รถประจำทางจำนวนมากเริ่มออกรถที่สถานีเกียวโตก็จริง
แต่ถ้าเป็นรถบัสที่จอดตามป้ายแล้วละก็ ผู้โดยสารก็นั่งไปลงป้ายที่ไหนก็ได้ที่อยากจะไป 
ตรงนี้เราจะเห็นว่ารถประจำทางที่ผ่าน  Ohara มีสาย 16 และสาย 17 เนื่องด้วยเป็นป้ายรถขนาดใหญ่ แม้ว่าเราจะมีได้ขึ้นรถหน้าสถานีรถไฟโตเกียว
เราก็สามารถเดินทางไปยังสถานที่ย่านใจกลางเมืองอย่าง Sanjokeihan หรือ Shijokawaramachiได้ค่ะ 


タイ人の為の訪日旅行サイト Madoo Japan . com